วัสดุใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ Fiberglass ABS PVC PP PE PS ต่างกันยังไง
ทริกการตกแต่ง view all
วัสดุใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ Fiberglass ABS PVC PP PE PS ต่างกันยังไง

ไปดูคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสีย ของวัสดุแต่ละตัวกันเลยค่าาา

 

Fiberglass หรือ FRP หรือ GRP

ไฟเบอร์กลาส หรือ
FRP (Fiber-reinforced Plastic) หรือ
GRP (Glass-reinforced Plastic)
เป็นพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใยแก้ว (Fiberglass)

ซึ่ง Fiberglass ก็คือเส้นใยของแก้วที่ปั่นให้เป็นเส้นละเอียดบางๆ
เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในโพลิเมอร์หลายประเภท

มีคุณสมบัติเด่น คือ ความแข็งแรง ทนต่อแรงดึงได้สูง ไม่เป็นสนิม
ทนต่อการกัดกร่อน และทนต่อความร้อนได้ดีกว่า ABS PP และ PE
แต่มีน้ำหนักมากกว่า ABS และ PP ค่ะ

ส่วนข้อเสียสำคัญสำหรับช่างเฟอร์นิเจอร์
คือ ซ่อมทำสียาก ถ้าช่างไม่มีฝีมือทำสีพอ
งานสีอาจแตกลายงา หรือเป็นคลื่นได้นะคะ

#Fiberglass #FRP #GRP
#PolarLiving

 

PVC (Polyvinylchloride)
เป็นพลาสติกที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย
เพราะมีความยืดหยุ่นสูง

คุณสมบัติที่สำคัญคือ เมื่อติดไฟ จะดับได้เอง
ป้องกันไขมันได้ จึงนิยมนำไปทำขวดบรรจุน้ำมันในการปรุงอาหาร

แต่ PVC เป็นพลาสติกที่แข็ง แต่ค่อนข้างเปราะ
และสลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อน
หรือถูกแสงแดดเป็นเวลานาน

ดังนั้นควรเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานเฟอร์นิเจอร์ของเรานะคะ
เช่น ถ้าจะเลือกซื้อเก้าอี้ซักตัว ที่ทำจากพลาสติก
แต่ต้องวางกลางแจ้งตลอดเวลา
อาจต้องเลี่ยงไปซื้อเก้าอี้ที่ทำจากวัสดุอื่นๆ
ที่ทำแสงแดดได้มากกว่า PVC นะคะ

#PVC #Polyvinylchloride #PolarLiving

 

ABS (Acrylonitrile-butadiene-styrene)
อ่านว่า "อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน" ค่ะ

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติคล้ายโพลีสไตรีน (PS)
แต่ทนสารเคมีดีกว่า เหนียวกว่า และโปร่งแสง

ABS เป็นพลาสติกที่มีความสมดุลทั้งในเรื่องความแข็ง และความเหนียว
ทำให้พลาสติกมีสมบัติทนแรงกระแทกดี

นอกจากนี้ ABS ยังมีสมบัติเด่นอีกหลายเรื่อง
เช่น ทนต่อแรงเสียดสี คงสภาพรูปร่างได้ดี
ทนความร้อน ทนสารเคมี มีช่วงอุณหภูมิใช้งานกว้าง
(ตั้งแต่ -20 องศาเซลเซียส ถึง 80 องศาเซลเซียส)
และสามารถขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายวิธี

#ABS #AcrylonitrileButadieneStyrene #PolarLiving 

 

PP (Polypropylene)
อ่านว่า "โพลีโพรไพลีน" ค่ะ

PP เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุด
และมีความแข็ง ความเปราะ และแตกง่ายน้อยกว่า HDPE
ทนต่อแรงกระแทก ทนต่อการขีดข่วน
ทนต่อความร้อนได้สูง ไม่เสียรูปง่าย
ไอน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้น้อย

ลักษณะของ PP คือ ขาวขุ่น หากไม่ผสมสี
จะทึบแสงกว่า PE แต่ไม่ใสเท่า PS

แต่ข้อเสียสำคัญของ PP
คือ ราคาสูงกว่า ABS และ FRB (ไฟเบอร์กลาส) ค่ะ

#PP #Polypropylene #PolarLiving 

 

PE (Polyethylene)
อ่านว่า "โพลีเอทิลีน" ค่ะ

PE เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีคุณสมบัติสำคัญ
คือ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี มีความเหนียว
และทนทานต่อแรงดึงปานกลาง
โดยปกติ PE จะไม่ละลายในตัวทำละลายใดๆ
แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส จะเริ่มละลายค่ะ

PE ถูกจำแนกออกเป็นหลายชนิดนะคะ
แต่หลักๆ ที่นำมาใช้กันมาก คือ
LDPE LLDPE MDPE และ HDPE ค่ะ

#PE #Polyethylene #PolarLiving 

 

HDPE (High Density Polyethylene)

HDPE เป็นโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง
มีความแข็งแรง ทนต่อสารเคมี และตัวทำละลายหลายชนิด
จึงนิยมนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดและด่าง
มีความเหนียว ค่อนข้างนิ่ม ยืดหยุ่น
ทนทานต่อการแตก หัก หรืองอได้

HDPE ทนต่อความร้อนได้ไม่มาก แต่กลับทนต่อความเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ดีมากๆ เลยค่ะ และยังสามารถนำกลับมาหลอมใช้ได้ใหม่ค่ะ

#HDPE #HighDensityPolyethylene #PolarLiving 

 

LDPE (Low Density Polyethylene)

เป็นโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ
ที่ผลิตโดยใช้แรงดันสูง

LDPE ทนความร้อนได้ไม่มาก แต่ทนสารเคมีได้ดี
มีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี
ทนต่อการกรอบแตก แต่แข็งแรงทนทานน้อยกว่า HDPE ค่ะ

#LDPE #LowDensityPolyethylene #PolarLing

 

LLDPE (Linear Low Density Polyethylene)

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่าง LDPE และ HDPE
แต่จะนิ่มและเหนียวกว่า LDPE และ HDPE

LLDPE มักถูกนำไปใช้งานที่อุณหภูมิต่ำๆ
เช่น ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารแช่เย็น หรืออาหารแช่แข็งค่ะ

#LLDPE #LinearLowDensityPolyethylene #PolarLiving 

 

PS (Polystyrene)

PS เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในกลุ่มพลาสติกชนิดแข็ง
มีความคงรูปดี แต่เปราะ
สามารถทำเป็นสีต่างๆ ได้ และยืดหยุ่นได้จำกัด

PS เหมาะกับการนำมาผลิตเป็นแก้วโฟมใช้แล้วทิ้ง หรือจานพลาสติกใส่อาหาร
หากจะนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์
จะต้องเติมสารเติมแต่งบางอย่าง
เพื่อลดข้อจำกัดเรื่องความเปราะลง

HIPS (High Impact Polystyrene)
เป็น PS ที่ได้จากการเติมสารเติมแต่งบางอย่าง
หรือผสมกับพวกยาง
เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องรับแรงกระแทก
สามารถนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้

ส่วน GPPS General Purpose Polystyrene จะถูกนำมาใช้งานทั่วๆ ไป ที่รับน้ำหนักไม่ได้มากนัก เพราะมีความเปราะอยู่ค่ะ

#PS #Polystyrene #PolarLiving

 

หรือถ้าไม่ชอบวัสดุแนวพลาสติก
ก็สามารถเลี่ยงไปใช้วัสดุอื่นๆ
เช่น เหล็ก สแตนเลส หรืองานหุ้มผ้าหุ้มหนังแทนก็ได้เลยค่ะ

ต่อไปนี้เวลาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์มาใช้งานซักตัว
เราก็จะสามารถเลือกเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน และให้มันอยู่คู่บ้านเราแบบสวยงามไปได้อีกนานๆ เลยค่า

หากมีคำถามอื่นๆ สามารถ Inbox มาสอบถาม
หรือโทรหาเราได้นะคะ

#ตอบโจทย์ทุกความต้องการให้บ้านคุณ
#PolarLiving

 

 

 

สินค้าแนะนำ view all
โทรเลย แชทกับเรา แชร์